อย่า ‘เค็ม’ ให้มากนัก ระวังเป็นโรค!…มาดู อาหารที่มีโซเดียมสูง รู้แล้วแทบกินไม่ลง!

อาหารที่มีโซเดียมสูง ตายผ่อนส่งไม่รู้ตัว

อาหารที่มีโซเดียมสูง ล้วนถูกปรุงแต่งอย่างจัดจ้านและอันตรายมากนะรู้ยัง เมื่อเร็วๆ นี้ อะพินอ่านหนังสือพิมพ์แล้วเจอข่าวหัวข้อหนึ่ง เกี่ยวกับการกินเค็มของคนไทย ถึงขั้นต้องเอามือนาบอกด้วยความตกใจเบาๆ เพราะเพิ่งรู้ว่า ปัจจุบันคนไทยเรากินโซเดียมเฉลี่ยประมาณ 4 กรัมต่อวัน จากที่ควรกินแค่ 2 กรัมต่อวัน เป็นสาเหตุของสารพัดโรคที่ตามมามากมาย จนทำให้เกิดกระแสการรณรงค์ต่างๆ ว่าแต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารที่กินอยู่ทุกวันนี้มีโซเดียมเท่าไหร่ อะพินขอยกตัวอย่างเมนูพีคๆ มาให้ดูกัน ถ้ารู้ความจริง รับรองว่าต้องไม่อยากกินไปอีกนานเลยล่ะ  

อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม X ปัญหาสุขภาพ X ความเค็ม X อาหารเค็ม

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มได้ให้ข้อมูลว่า คนไทยเราใช้เกลือในการปรุงอาหารมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ทั้งปลาเค็ม กะปิ ปลาร้า ส้มตำ อาหารหมักดอง รวมทั้งอาหารญี่ปุ่น เกาหลีซึ่งมีรสค่อนข้างเค็ม มีสถิติบอกไว้ว่าคนญี่ปุ่นกินเค็มมากที่สุดในโลก แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ยิ่งสะดวก หาง่าย เปิดปุ๊ปกินได้เลย ยิ่งอันตราย เพราะอาหารที่สามารถเก็บไว้ในนานๆ ยิ่งต้องใส่เกลือเพิ่ม มีความเค็มกว่าอาหารที่ปรุงสดใหม่ถึง 30%

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม

คนส่วนใหญ่จะได้รับโซเดียมจากเกลือ แต่จะมีโซเดียมอยู่ประเภทหนึ่งที่ไม่เค็มอย่างเช่น โซเดียมโมโนกลูตาเมต หรือที่รู้จักกันในนาม ผงชูรส แล้วอีกอย่างก็คือ ผงฟู ในเค้ก คุ้กกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าคนไทยกินเกลือเฉลี่ยเกินความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่า  ทำให้มีผู้ป่วยโรคไตที่ต้องได้รับการฟอกไตมีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ต่อปี ทางทีดีควรกินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา/วัน น้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชา/วัน หรือ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม

มาปรับลิ้นลดเค็มกันเถอะ!
ลิ้นคนเราสามารถปรับได้นะรู้ยัง ถ้าลองลดความเค็มกินจืดสักระยะหนึ่ง ต่อมรับรสที่ลิ้นจะไวขึ้น แม้จะกินอาหารที่มีรสเค็มนิดเดียวก็จะรู้สึกว่าเค็มแล้ว โดยเริ่มจากทำอาหารลดเค็มลง  10% ผ่านไปสัก 2 อาทิตย์หรือหนึ่งเดือน ก็ให้ลดลงอีก 10% ลดทีละน้อยแล้วต่อมรับรสจะค่อยๆ ไวขึ้น แต่ก็ยังมีความสุขในการกินเหมือนเดิม แล้วถ้าลองกลับไปกินตำปูปลาร้าของโปรด คุณจะกินไม่ได้เลยล่ะ

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็มตัวช่วยลดความเค็ม
–       ใช้รสอื่นมาทดแทนเช่น รสเปรี้ยวจากมะนาว รสเผ็ดจากพริก หรืออาจใช้สมุนไพรเพื่อแต่งรสและกลิ่นก็จะสามารถลดรสชาติเค็มลงไปพร้อมกับยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย
–       สารทดแทนความเค็มที่ปัจจุบัน อย. อนุญาติให้ใช้คือ โพแทสเซียม ซึ่งจะอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสโลว์โซเดียมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา น้ำมันหอย ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ  ฯลฯ
–       ลดความถี่และปริมาณการกินอาหารที่ใช้ ‘น้ำจิ้ม’
–       ต้องไม่กินจำเจอย่างเดียว

อาหารต้องห้าม ยิ่งกินยิ่งเหมือนตายผ่อนส่ง!
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

โจ๊กซอง

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม โจ๊กสำเร็จรูปโซเดียมเพียบ แนะนำว่าควรกินแบบที่ทำสดใหม่ดีกว่านะ

มันฝรั่งทอด และข้าวโพดคั่ว

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม มันฝรั่งทอด ป็อปคอนเป็นขนมที่ติดอันดับความเค็มสูงสุด น่ากลัวม๊ากกก

พริกเกลือ

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม พริกเกลือใครที่ติดเวลากินผลไม้แล้วต้องเคียงด้วยพริกเกลือ อะพินขอบอกไว้เลยว่าควรงด เพราะในผลไม้มันมีรสชาติความหวาน และวิตามินในตัวอยู่แล้ว พยายามกินแบบไม่ต้องจิ้ม แล้วลิ้นเราจะชินไปเอง

พริกน้ำปลา

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม พริกน้ำปลากลายเป็นวัฒนธรรมการกินของคนไทยไปแล้ว ยังไม่ทันชิม แต่ต้องขอปรุงไว้ก่อน เป็นพฤติกรรมความเคยชินที่จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวนะ ลดๆ ลงบ้าง เดี๋ยวจะหาว่าอะพินไม่เตือน

อาหารหมักดอง

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม อาหารหมักดองอาหารที่ผ่านการแปรรูป หรือการถนอมอาหาร ยิ่งพวกน้ำปลาร้า 100 กรัม มีโซเดียมสูงถึง 6,016 มิลลิกรัม, ปูเค็ม 100 กรัม ก็เยอะมาก เพราะมีถึง 9,620 มิลลิกรัม ส่วนปลาทูเค็ม 100 กรัม มีโซเดียม 4,772 มิลลิกรัม สูงปรี๊ดจนน่าตกใจ

ก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 จาน 1,200-1,500 มิลลิกรัม

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม ก๋วยเตี๋ยวน้ำใสทราบหรือไม่ว่าก๋วยเตี๋ยวน้ำจะเค็มกว่าก๋วยเตี๋ยวแห้งถึง 40% ยิ่งพวกน้ำต้มยำ ต้มโคล้งนี่โซเดียมกระหน่ำมาก ถ้าจะกินก็ควรกินแต่น้อยเอาแบบขลุกขลิกพอ  ไม่ต้องถึงขนาดซดหมดชามหรอกนะ

อาหารจานเดียว

อาหารที่มีโซเดียมสูง อันตรายจากโซเดียม กินเค็มระวังเป็นโรค เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปรับลิ้นลดเค็ม ปัญหาสุขภาพ ความเค็ม อาหารเค็ม อาหารจานเดียวข้าวคลุกกะปิ 1,745 มิลลิกรัม ,ราดหน้า 1,819 มิลลิกรัม, ก๋วยจั๊บ 1,450  มิลลิกรัม ขนมจีนน้ำยา 1,700 มิลลิกรัม เฉลี่ยแล้วอาหารจานเดียวจะมีโซเดียมอยู่ที่ประมาณ 1,000 อัพทั้งนั้น นั่นเท่ากับว่าถ้ากิน 3 มื้อต่อวันจะได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่าเลยทีเดียว นี่ยังไม่นับรวมเครื่องปรุงพวกพริกน้ำปลาที่กระหน่ำใส่เข้าไปอีก ซึ่งเท่ากับยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมถึงช้อนชาละ 500 มิลลิกรัม…โอ้แม่เจ้า!!!

ดูปริมาณโซเดียมแล้วอยากจะร้องกรี๊ด! เพราะแต่ละอย่างนี่ของโปรดทั้งนั้นเลย เอาเป็นว่านานๆ กินที พอให้หายอยากก็แล้วกันเนอะ

เรื่อง : apin_praewnista

IG : @apin_praewnista

Praew Recommend

keyboard_arrow_up