เพราะความดีไม่มีขาย 7 คนดัง ปลุกพลังจิตอาสา เกิดมาทั้งที ขอทำงานเพื่อสังคม

เกิดมาทั้งที จะจากโลกนี้ไปตอนไหนไม่มีใครรู้ ฉะนั้นทำทุกวันให้มีความสุข ทำแต่สิ่งที่ดี แม้ความดีจะเห็นผลช้า แต่ถ้าหมั่นทำอย่างสม่ำเสมอ ผลที่ได้รับนั้นมากกว่าความสุขทางใจเหมือนคนดังเหล่านี้กันแน่นอน

เห็นข่าวตามหน้าสังคมโซเชี่ยล หลายคนอาจจะเอียนกับข่าวทางลบที่โผล่ขึ้นมาไม่เว้นแต่ละวัน อาจจะทำให้หดหู่ใจ และมองโลกนี้โหดร้ายไปบ้าง แต่เรื่องราวดีๆ ที่มีคนดีคอยโอบอุ้มให้โลกนี้น่าอยู่ก็ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลย เหมือนคนดังทำความดีเหล่านี้ ที่เราได้นำมาให้ชาวแพรวได้ดู เรื่องราวที่เขาและเธอทุ่มแรงกายใจอาสาทำอย่างเต็มที่ ซึ่งแต่ละสิ่งนั้นเริ่มต้นไม่ง่ายเลยสักนิด แต่พวกเขาก็ยังอดทนเดินหน้าทำต่อ อาจจะเห็นผลช้าไปบ้าง แต่เมื่อความดีได้กลายเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่ตั้งใจ แน่นอนว่าความสุขเกิดขึ้นในใจเต็มๆ และเรื่องราวเหล่านี้น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนอยากจะลุกขึ้นมาทำแต่สิ่งดีๆ และให้คนที่ทำความดีอยู่แล้วได้มีแรงทำต่อไป เพื่อโลกของเราจะได้น่าอยู่กันมากขึ้น

อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต หรือ โจอี้ บอย

ผมอยู่หน่วยสางเถาวัลย์ครับ มันคือตัวอุปสรรคของการโตของต้นไม้ครับ มันดึงมันรั้งมันถ่วงการเจริญเติบโต แรงดีๆพรุ่งนี้มาหน่วยพี่ได้ #ปลูกเลย #ทีมแดง ทีมมี3สีนะครับ ทีมเขียว ปลูกอย่างเดียว ทีมเหลือง ปลูกบนไหล่เขาชัน ลำบากมาก ทีมแดง สางเถาวัลย์ที่เกาะต้นไม้ เหนื่อยสุด ชอบทีมไหนเลือกตามแรงที่ไหวนะ

A photo posted by joeybangkokboy (@joeybangkokboy) on

#ปลูกเลย #ทำฝาย #สร้างฝาย #น่าน

A photo posted by Mermaid (@mermate_hg14) on

#ปลูกเลย #ทำฝาย #สร้างฝาย #น่าน

A photo posted by Mermaid (@mermate_hg14) on

#ปลูกเลย #รักนะน่านเนิบเนิบ

A photo posted by @tor_nana on

เดินหน้ากันอย่างต่อเนื่องสำหรับ #ปลูกเลย โครงการปลูกป่าฟื้นความเขียวให้จังหวัดน่าน ที่มีเจ้าพ่อแร็พเพอร์ โจอี้ บอย แท็คทีม ต่อ ธนญชัย และโต้ สุหฤท นำทัพขบวนเหล่าจิตอาสา แม้จะมีผู้คนตั้งข้อสงสัย หรือตั้งคำถามมากมายว่า จะทำได้จริงไหม สร้างภาพหรือเปล่า มันยากนะ แต่ในเมื่อพูดแล้ว โจอี้ก็ตั้งมั่นว่าต้องทำให้ได้รวมถึงออกเงินตัวเองหลักแสนใส่โครงการนี้ด้วย ซึ่งก็ได้รับเสียงสนับสนุนจากคนไทยหลายจังหวัดรวมถึงชาวต่างชาติมาช่วยบริจาคเงินและร่วมลงแรงปลูกป่าที่น่านด้วย จากคนไม่กี่คนมารวมกันเป็นทีมค่อยๆ ใหญ่ ในอนาคตก็หวังว่า เราจะได้เห็นพื้นที่เขาหัวโล้นกลับมาสีเขียวอีกครั้งหนึ่ง

เจ เจตริน วรรธนะสิน

#คิดถึงป่า

A photo posted by onuma ritkoha (@dear_onuma) on

อยากไปอีกกก #คิดถึงป่า

A photo posted by ︎ⓝⓞⓞⓝⓝⓢⓢⓜⓒ❤︎ (@iinoonchi) on

อยากให้เราช่วยกันปรบมือดังๆให้เหล่าบรรดาอาสาโครงการ #คิดถึงป่า ทุกๆท่าน ปลูกป่า 15 ไร่ ต้นไม้ป่า 1500 ต้น ไม้ป่าดอกขนาดใหญ่ 500 ต้น กล้วยน้ำว้า 400 ต้น ไม้ผล 400 ต้น หลังจากนี้เราจะติดตามและดูแลไปอีก1-2ปี (โครงการคิดถึงป่า1.1 1.2 1.3 ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ต้นไม้เติบโตดูแลตัวเองได้และเราจะปล่อยป่ากลับธรรมชาติ สิ่งที่พวกเราทำอาจน้อยนิดถ้าเทียบกับสิ่งที่ขาดหายไป แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มทำมันแล้วและจะทำต่อไปเรื่อยๆ เตรียมโครงการคิดถึงป่า2 เร็วๆนี้ #Singha #Yamaha #sanook.com #jjetrin

A photo posted by Jetrin Wattanasin (@jjetrin) on

เป็นหัวหน้าครอบครัวแห่งบ้านวรรธนะสินที่มีจิตอาสา และคอยช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด ตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่ขี่เจ็ตสกีช่วยเหลือชาวบ้าน ครั้งนี้กับโครงการคิดถึงป่า ที่เริ่มต้นหวังจะฟื้นฟูพื้นที่ภูฝอยลม จ.อุดรธานี ให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง ซึ่งเขาได้ลงชื่อเป็นจิตอาสาคนแรก ถึงแม้จะไม่ได้มีความรู้ทางด้านนี้มาก่อน แต่เขาก็ตั่งมั่นจะเรียนรู้และปลูกป่าร่วมกับคนอื่นไปพร้อมกัน และสิ่งสำคัญคือ จะเผยความรู้ด้านนี้ไปพร้อมกันด้วย เพราะบางพื้นที่เมื่อเข้าหน้าแล้ง ต้นไม้สีเขียวจะแปรเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิง และเขาก็ไม่อยากให้ในอนาคต ลูกหลานจะรู้จักผืนป่าได้เพียงภาพถ่าย

เชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ

ที่ที่ฉันยืนอยู่นี้เคยเป็นภูเขาหัวโล้น…นี่คือเรื่องจริง! ฉันได้เดินทางไปหลายหมู่บ้านในพื้นที่สูงของจังหวัดน่าน ได้พบเจอ “ปราชญ์บนดอย” หลายต่อหลายท่าน ที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตจริงและลงมือทำด้วยความเชื่อความมุ่งมั่น จนช่วยกันพลิกฟื้นพื้นที่เขาหัวโล้นให้กลับกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้อีกครั้ง ด้วยการทำให้คนบนดอยสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอยและพื้นที่ทำกิน ซึ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีมากถึง 60% คนในชุมชนจะช่วยกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังไฟป่า สร้างแนวกันไฟ การสร้างระบบการเผาวัชพืชอย่างมีวัฒนธรรม ช่วยกันสร้างฝายจำนวนมากที่ทำให้มีน้ำพอใช้ภายในชุมชนและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ลักลอบตัดไม้ เหล่านี้เป็นต้น ภาระมากมายขนาดนี้ ถ้าไม่มีความรัก ความผูกพันและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน…คุณคิดว่ายังไง? ป่าต้นน้ำมีความสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิต เกษตรกรอย่างพวกเขา ตลอดจนยังช่วยป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้งมาจนถึงคนปลายน้ำอย่างพวกเรา ซ้ำยังต้องฝากชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ อากาศ และปากท้องไว้กับพวกเขาอีกด้วย คุณยังจำเหตุการณ์น้ำท่วมปี ’54 กันได้อยู่ใช่มั้ย อย่ารอให้เหตุการณ์ต้องเลวร้ายขนาดนั้นเลย ฉันอยากให้พวกเราทุกคนช่วยกันคิดลงมือทำอะไรซักอย่าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี ฉันยังเชื่อในความมีน้ำใจของคนไทยเสมอ. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง #บ้านน้ำช้าง #ขุนน่าน #อำเภอเฉลิมพระเกียรติ #จังหวัดน่าน

A photo posted by @cherrykhemupsorn on

มาตามสัญญา…อาจจะยาวหน่อยนะคะ แต่ขอให้ตั้งใจอ่านข้อความต่อไปนี้สักหน่อย อ่านด้วยใจที่เป็นกลาง อ่านด้วยใจที่อยากจะคิดหาทางออกของปัญหาป่าต้นน้ำ อ่านด้วยใจที่พร้อมจะลงมือทำอะไรซักอย่างเพื่อร่วมแก้ปัญหานี้ไปด้วยกัน …น้ำจากแม่น้ำน่านคือ 45% ของน้ำที่ไหลมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย ภาพเขาหัวโล้นที่เห็นตามข่าวเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ป่าสงวนหลายพื้นที่ได้กลายเป็นดินแห้งดำหลังจากถูกไฟเผาไหม้ ฉันจะไม่พูดถึงสาเหตุเบื้องลึกเบื้องหลัง แต่ฉันอยากบอกคุณทั้งหลายว่าถ้าเรามัวแต่โทษกันไปมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นความผิดของใคร ฉันคิดว่ามันคงจะสายเกินไป ถ้าเราไม่เริ่มลงมือแก้ปัญหากันอย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนี้ และสิ่งสำคัญที่สุดที่ฉันอยากจะบอกคุณก็คือ การปลูกป่าไม่ได้แก้ปัญหาได้ (ทั้งหมด) งงใช่ไหมคะ? ฉันเองก็เช่นกัน สิ่งแรกที่เราควรจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุดก็คือ “คน” คนในที่นี้คือ ชาวบ้านในพื้นที่ ควรเร่งให้ความรู้ วิธีการและโอกาส เพื่อทดแทนการเผาป่าสำหรับทำไร่ เคยได้ยินกันอยู่ใช่มั้ย “ปลูกป่า ปลูกคน” คนในพื้นที่เมื่อปากท้องเขาอิ่มและรู้ว่าป่าให้ประโยชน์ต่อเขาอย่างไรบ้าง เขาจะรักและหวงแหนป่า จะเกิดเป็นพลังที่ช่วยดูแลผืนป่าได้เป็นอย่างดี ลำดับต่อมาคือ “น้ำ” เราจะทำอย่างไรให้ภาคเกษตรมีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง และน้ำไม่ท่วมในฤดูน้ำหลาก ต้องมีการจัดการระบบน้ำที่ดี ฉันไม่ได้หมายถึงการสร้างเขื่อนด้วยการตัดป่าไม้ที่เป็นเสมือนเขื่อนธรรมชาติเพิ่มขึ้นหรอกนะ “ฝาย” ต่างหากที่ฉันกำลังหมายถึง เมื่อมีน้ำและคนดูแลต้นไม้แล้ว ป่าจะฟื้นฟูได้เอง เรียกว่าการปลูกป่าแบบไม่ปลูก เช่นดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วต้นไม้ที่เราจะไปช่วยกันปลูกเสริมเพิ่มเติมก็จะไม่สูญเปล่าเมื่อมีคนดูแล ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญ พวกเราจะช่วยอะไรได้? ขอแค่เรามีใจ มีจิตสำนึกที่จะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง และไม่เห็นแก่ตัวเอง เราจะช่วยกันคิดหาทางแก้ไขเรื่องนี้กันได้อย่างเต็มกำลังความสามารถตามที่แต่ละคนมี…ฉันเชื่ออย่างนั้นนะ เพียงแค่ต้องแก้ให้ตรงจุดเท่านั้นเอง สิ่งหนึ่งที่เราควรทำคือ วางแผนการจัดการร่วมกันกับคนในพื้นที่ เพราะเขาเหล่านั้นรู้ดีที่สุดว่าอะไรเหมาะไม่เหมาะกับพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่ ไม่จำเป็นต้องทำแค่ที่จังหวัดน่านหรอก ที่ไหนก็ได้ที่เป็นป่าต้นน้ำของไทย หรืออย่างน้อยที่สุด…ขอแค่ช่วยกันประหยัดและตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรที่เราบริโภคทุกวัน ว่าคือหยาดเหงื่อ น้ำตา ชีวิต และอนาคตของพวกเราชาวไทยทุกคนรวมถึงลูกหลานของเราด้วย ช่วยกันนะคะ…ก่อนที่จะสายเกินไป.

A photo posted by @cherrykhemupsorn on

จากภาพคือน้ำในแม่น้ำน่านที่เปลี่ยนสีเป็นสีชาไทยตลอดทั้งสาย อันเนื่องมาจากการพังทลายของหน้าดิน จังหวัดน่าน…พื้นที่ที่กำลังมีปัญหาเขาหัวโล้นจากการตัดและเผาป่าอย่างสาหัส เหมือนๆ กันกับอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย ใช่…แม่ฉันเป็นคนน่าน คุณคงคิดว่าฉันเองก็ควรจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้อยู่แล้วสินะ แต่ถ้าฉันจะบอกกับคุณทุกคนว่า ปัญหาเขาหัวโล้นที่น่านนี้ ไม่ใช่ปัญหาของชาวน่านแค่เพียงกลุ่มเดียว แต่มันคือปัญหาของพวกเราทุกๆคน อย่าส่งกำลังใจให้ฉันเลย เพราะตัวคุณเองก็ต้องการกำลังใจเช่นเดียวกัน กำลังใจเพื่อลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง อะไรก็ได้ตามกำลังที่คุณมี ที่ไหนก็ได้ตามแต่ความสะดวกของคุณ อย่าให้ฉันต้องเป็นคนบอกคุณเลยว่าคุณควรทำอะไร เพราะฉันเองก็กำลังคิดถึงสิ่งที่ฉันพอจะทำได้อยู่เช่นกัน… ผลสำรวจทรัพยากรป่าไม้ ปี 2531 พบว่ามีป่าเหลืออยู่เพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือประมาณ 90 ล้านไร่ และปี 2528 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศระบุว่าป่าต้นน้ำเหลือเพียง 9 ล้านไร่! เป็นตัวเลขที่น่าตกใจมากเลยใช่มั้ย แต่นั่นเป็นผลสำรวจเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว คุณคิดว่าด้วยอากาศที่ร้อนขึ้นมากมาย บวกกับภัยทางธรรมชาติต่างๆที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอยู่ทุกวันนี้ ตัวเลขของผลสำรวจจะเปลี่ยนแปลงไปน่ากลัวขนาดไหน! น่าเสียดายที่ฉันไม่มีข้อมูลในส่วนนั้นมาบอกเล่าให้คุณฟัง “ป่าต้นน้ำ” มีความสำคัญมาก ที่ทุกวันนี้มีภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน เหตุผลหลักๆเลยคือเกิดจากพื้นที่ป่าต้นน้ำในทุกๆ พื้นที่ลดลงมากจนน่าใจหาย เมื่อเกิดพายุฝน ไม่มีต้นไม้รองรับ ฝนตกถึงพื้นก็ชะผิวดินเกิดเป็นน้ำท่วมฉับพลันและการพังทลายของหน้าดินตามมา ไม่มีต้นไม้คอยกักเก็บน้ำ พอถึงหน้าแล้งก็ทำให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ…ช่วยกันคิดหน่อยเถอะนะ ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ เริ่มกันเลยเถอะ ฉันขอย้ำอีกครั้ง…ก่อนที่มันจะสายเกินไปกว่านี้. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

A photo posted by @cherrykhemupsorn on

Little Forest “ปลูกป่า ปลูกคน ปลูกใจ” กิจกรรมคืนพื้นที่สีเขียวร่วมปลูกป่า 20,000 ต้นให้เมืองไทย ด้วยการอุดหนุนสินค้าสุดฮิปจากดีไซน์เนอร์ดัง ASAVA, ISSUE, Baisri, Little Fox ทั้งเสื้อยืด หมวก กระเป๋า ร่มกันยูวี ผ้าพันคอแฮนด์เมด และเสื้อผ้าเด็ก โดยร่วมช้อปคอลเล็กชั่นสุดเก๋ได้ที่ *LINE ID: littleforest16 หรือร่วมอุปถัมภ์ผืนป่าด้วยการบริจาคเข้ากองทุนปลูกและรักษาป่าเป็นเวลา 3 ปี รวมไร่ละ 8,430 บาท หรือตามความสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ *LINE ID : kimizen รายได้พร้อมเงินบริจาคส่งต่อให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสวนป่าอย่างยั่งยืน และนำไปสนับสนุนกิจกรรมปลูกป่าที่อ.วังชิ้น จ.แพร่ ในวันที่ 1-2 ส.ค.นี้ รวมถึงกิจกรรมปลูกคน ปลูกใจที่กำลังจะตามมา #LittleForest #ปลูกป่าปลูกคนปลูกใจ @littlehelp_thailand *หมายเหตุ : กรุณารอการตอบกลับทางไลน์ซักระยะนะคะเนื่องจากไลน์ที่เข้ามามีจำนวนมาก น้องๆ อาสาสมัครพยายามเร่งตอบให้ครบถ้วนค่ะ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนค่ะ ❤️❤️❤️

A photo posted by @cherrykhemupsorn on

นอกจากบทลุยจะมีให้เห็นในละครแล้ว ในชีวิตจริง เชอร์รี่ เข็มอัปสร ก็มีบทลุยเช่นกัน เชอร์รี่ได้เข้าร่วมโครงการ คนยืนได้ ไม้ยืนต้น ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปสำรวจพื้นที่เขาหัวโล้นที่ จ.น่าน เรื่องสำคัญที่เธอต้องการแชร์ต่อๆ กันคือ การปลูกป่า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทั้งหมด แต่ควรเริ่มที่คน เหมือนคำว่า ปลูกป่า ปลูกคน ให้ความรู้แก่ชาวบ้านว่า วิธีการรักษาป่าทำอย่างไร และการปลูกฝาย เพื่อกักเก็บน้ำแทนการสร้างเขื่อนนั้นสำคัญมากแค่ไหน ซึ่งการที่เราๆ มาถกเถียงกันหาคนผิดที่ทำให้เกิดเรื่องพวกนี้นั้นเสียเวลา มาเริ่มช่วยกันศึกษาและลงมือกันดีกว่า เพื่อผืนป่าจะได้อยู่กับเราไปได้นานๆ ซึ่งล่าสุดเธอก็ได้จัดตั้งโครงการ Little Forest ปลูกป่า ปลูกคน ปลูกใจ เชิญชวนให้คนมาร่วมกันปลูกสีเขียวบนพื้นดินอีกด้วย

Praew Recommend

keyboard_arrow_up